วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สวัสดีปีใหม่จ้า...




ปีใหม่แล้วนะจ๊ะ

อะไรที่ไมดีก็ทิ้งมันไป

จดจำแต่สิ่งที่ดี-ดีละกันนะ

มีความสุขมากๆกันทุกคนเลยนะจ๊ะ

French New Year - Le Jour de l'An

In France, New Year's Eve (31 December) is called la Saint-Sylvestre,* and is usually celebrated with a feast, called le Réveillon de Saint-Sylvestre. The feast tends to include special items like champagne and foie gras, and the accompanying party can range from an intimate dinner with friends to une soirée dansante (ball).At midnight, everyone kisses under the mistletoe** and offers their best wishes for the new year.On New Year's Day, le Jour de l'An, friends and family share their New Year's resolutions and may also exchange cards and gifts.


le Jour de l'An

En France, on organise un dîner de fête avec, entre autres, du champagne et du foie gras. Il peut s'agir d'un simple dîner entre amis ou d'une soirée dansante. Le jour de l'an, les familles et les amis échangent les vœux du nouvel An, prennent de bonnes résolutions et parfois échangent quelques cadeaux (les étrennes). À minuit, on se souhaite traditionnellement une bonne année en s'embrassant sous le gui, puis on va dans la rue en criant « Bonne année ! » et en faisant beaucoup de bruit (trompette, klaxon, etc.). La Saint-Sylvestre est également l'occasion donnée au Président de la République française de transmettre ses vœux présidentiels en diffusion différée à 20 heures sur les principales télévisions françaises depuis le palais de l'Élysée.
La période des fêtes se termine le 6 janvier avec l'
Épiphanie. Ce jour-là on partage traditionnellement la galette des Rois.

French New Year's Vocabulary

Bonne Année ! Happy New Year!
les étrennes New Year's gifts
le gui mistletoe
le Jour de l'An New Year's Day
la Saint-Sylvestre New Year's Eve


Chanson du nouvel An - French New Year's Song

Encore une autre année qui se termineChacun de nous lui fait tout ses adieuxPour disparaître on la voit qui s'inclineElle semble dire « Enfant soyez heureuxUn an nouveau déjà a pris ma placeEmbrassez-le avec beaucoup d'amour
Ce temps joyeux toujours trop vite passeCar lui aussi disparaîtra un jourAinsi s'en vont les années de la vieEn nous laissant toujours un souvenirDe nous quitter elle nous semble meurtrieCar jamais elle ne pourra revenir.
Douze autre mois passerons sur le mondeJanvier était le mois le plus rigoureuxFévrier est long comme une secondeMars avril mai juin pour les amoureuxJuillet août septembre octobre et novembreSont la deuxième partie de l'année.
Passons enfin au beau mois de décembreC'est avec lui qu'un dieu nous est donnéFaits de tout coeur qu'à chacun je présenteMes meilleurs voeux de bonheur et de santéQue cette année soit des plus éclatanteQu'elle vous apporte la prospérité.

วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เตรียมต้อนรับ




Noël est une fête chrétienne célébrant chaque année la naissance de Jésus de Nazareth, appelée Nativité. Cette fête donne lieu à des offices religieux spéciaux et à des échanges de cadeaux et de vœux. Dans l'année 354, Noël a été fixé officiellement au 25 décembre par le pape Libère. Parce que la plupart des Églises orthodoxes suivent toujours le calendrier julien qui présente un décalage de quatorze jours avec le calendrier grégorien désormais en usage officiellement, elles célèbrent Noël le 7 janvier du calendrier grégorien (c’est-à-dire le 25 décembre du calendrier julien). La popularité de la fête a fait que « Noël » est devenu aussi un prénom porté.

Christmas is an annual holiday that celebrates the birth of Jesus. It refers both to the day celebrating the birth; as well as to the season which that day inaugerates, and which concludes with the Feast of the Epiphany. The date of the celebration is traditional, and is not considered to be his actual date of birth. Christmas festivities often combine the commemoration of Jesus' birth with various cultural customs, many of which have been influenced by earlier winter festivals.
In most places around the world, Christmas Day is celebrated on December 25. Christmas Eve is the preceding day, December 24. In the United Kingdom and many countries of the Commonwealth, Boxing Day is the following day, December 26. In Catholic countries, Saint Stephen's Day or the Feast of St. Stephen is December 26. The Armenian Apostolic Church observes Christmas on January 6. Eastern Orthodox Churches that still use the Julian Calendar celebrate Christmas on the Julian version of 25 December, which is January 7 on the more widely used Gregorian calendar, because the two calendars are now 13 days apart.
The word Christmas originated as a contraction of "Christ's mass". It is derived from the Middle English Christemasse and Old English Cristes mæsse, a phrase first recorded in 1038, compounded from Old English derivatives of the Greek christos and the Latin missa.[1] In early Greek versions of the New Testament, the letter Χ (chi), is the first letter of Christ. Since the mid-16th century Χ, or the similar Roman letter X, was used as an abbreviation for Christ.[2] Hence, Xmas is often used as an abbreviation for Christmas.
After the conversion of Anglo-Saxon Britain in the very early 7th century, Christmas was referred to as geol,[1] the name of the pre-Christian solstice festival from which the current English word 'Yule' is derived.[3]
The prominence of Christmas Day increased gradually after Charlemagne was crowned on Christmas Day in 800. Around the 12th century, the remnants of the former Saturnalian traditions of the Romans were transferred to the Twelve Days of Christmas (26 December6 January). Christmas during the Middle Ages was a public festival, incorporating ivy, holly, and other evergreens, as well as gift-giving.
Modern traditions have come to include the display of Nativity scenes, Holly and Christmas trees, the exchange of gifts and cards, and the arrival of Father Christmas or Santa Claus on Christmas Eve or Christmas morning. Popular Christmas themes include the promotion of goodwill and peace.




คำว่า คริสต์มาส ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม "ต์" อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า "มาส" (Mas) Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย สำหรับ "ซานตาคลอส" เซนต์นิโคลัสแห่งเมืองมีรา สมัยศตวรรษที่ 4 ได้รับการขนานนามให้เป็นซานตาคลอสคนแรก เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี ปิดท้ายที่ต้นคริสต์มาส หรือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยดวงไฟหลากสีสัน ต้องย้อนไปศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมามาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปีค.ศ.1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก คริสต์มาส คือการฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้า เราเฉลิมฉลองกันในวันที่ 25 ธันวาคม คำว่า คริสต์มาส เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ Christmas ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณี สำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฎิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสาร โบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas คำทักทายที่เราได้ฟังบ่อย ๆ ในเทศกาลนี้คือ Merry Christmas คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำที่ใช้อวยพร คนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Le palais de Versailles




Caractéristiques
Au début de sa construction, Versailles n’était qu’un pavillon de chasse de 24 m de long et il avait la forme d’un U. Plus tard, Louis XIV ajouta deux ailes mais le centre garda sa forme. Les écuries se trouvent maintenant au sud du palais, et les cuisines, au nord. L’Opéra se situe à l’extrémité ouest de l’aile nord. On aperçoit de la cour le chevet de la chapelle. Celle-ci est verticale et a un style gothique. Le château de Versailles mesure 45 m de haut et 610 m de large. Il occupe 25 hectares de terrain. La Galerie des Glaces est la pièce la plus grande du palais de Versailles. Elle mesure 73 m de long et 13 m de haut. Versailles ne comprend que trois étages. Il comporte plusieurs salles dont le salon d’Hercule qui a été construit en 1712. Il y a aussi la galerie des batailles, la Grande Galerie du Louvre, le salon de la Guerre, le salon de la Paix et le salon du Sacre. Au rez-de-chaussée, il y a la Chapelle Royale, l’Opéra Royal et les appartements de madame Victoire, ceux de madame Adélaïde et plusieurs autres.
Historique
Le palais de Versailles a déjà été la résidence officielle des rois de France pendant plus de 100 ans. Il a commencé comme petit pavillon de chasse royale construit pour Louis XIII en 1623. Son fils, Louis XIV, a décidé, en 1660, de reconstruire et de développer le château qui est alors devenu la résidence la plus splendide d’Europe. Né en 1639, Louis XVI régna sur la France jusqu’à sa mort en 1715. Il avait seulement 5 ans quand il est devenu roi de France après la mort de son père, Louis XIII. En 1662, le roi de France a chargé Louis le Vau et André le Nôtre (le jardinier) de créer un palais superbe qui fournissait un endroit convenable pour les cérémonies de la justice royale. En 1678, il y a eu une nouvelle campagne d’agrandissement. Les travaux ont été conçus par l’architecte Jules Hardoin-Mansart: entre 1678 et 1684, il construisit la Galerie des Glaces. Entre 1678 et 1682, il bâtit l’Aile du Midi. En 1684, il a conçu l’Orangerie. Entre 1685 et 1689, il construisit l’Aile du Nord. Pendant le processus de la construction, mille travailleurs sont morts à cause de la fièvre et de la pneumonie. Le palais de Versailles a été construit pour le rois Louis XIV, mais il a aussi servi à loger les 25 000 personnes qui se déplaçaient à Versailles pour la justice royale.
Géographie
Le palais de Versailles se trouve en Europe, en France, plus précisément à 15 km au Sud-Ouest de Paris, au coeur de la ville de Versailles.

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เป็นห่วงนะ


ช่วงนี้...อากาศก็เริ่มเย็นขึ้นเรื่อยๆนะ
ทุกคน...ดูแลตัวเองดี-ดีด้วย
ช่วงนี้...กิจกรรมเยอะ
อย่าลืม...ตั้งใจเรียนกันด้วย

THE KING




พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (พระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ซึ่งภายหลังทั้งสองพระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระเชษฐภคินีและพระเชษฐา คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ประสูติเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๑ ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เสด็จกลับประเทศไทย ประทับ ณ วังสระปทุม ต่อมาในวันที่ ๒๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกทิวงคต ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงเจริญพระชนมายุได้ไม่ถึงสองพรรษา และเมื่อมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี กรุงเทพฯ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา เพื่อทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนเมียร์มองต์ ทรงศึกษาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมันและภาษาอังกฤษ จากนั้นทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ณ เอกอล นูแวล เดอ ลา ชืออิส โรมองต์ เมืองแชลลี ชือ โลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จาก ยิมนาส กลาชีค กังโดนาล แห่งเมืองโลซานน์ แล้วทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ในพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๘ และได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรก ในพุทธ>ศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต เป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงโดยเสด็จพระราชดำเนิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง
ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม ในครั้งนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม
ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พระนามเดิม หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยยศ ขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้านักขัตรมงคล เมื่อพุทธศักราช ๒๔๙๓ และในพุทธศักราช ๒๔๙๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามว่าพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ) และหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร ต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวังสระปทุม ซึ่งในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสนี้ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์
ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
หลังจากเสร็จการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงรักษาสุขภาพ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามที่คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำ และระหว่างที่ประทับรักษาพระองค์อยู่นั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชธิดาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ซึ่งประสูติ ณ โรงพยาบาลมองซัวซีส์ เมืองโลซานน์ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๔ และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์แรกเจริญพระชันษาได้ ๗ เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จากนั้นทรงย้ายที่ประทับไปประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และที่พระที่นั่งอัมพรสถานนี้เอง สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดาอีกสามพระองค์ คือ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๔๙๘
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประสูติ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๐
ในพุทธศักราช ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาที่จะทรงผนวช ด้วยทรงพระราชดำริว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ที่ประชาชนของพระองค์เลื่อมใสกันอยู่เป็นจำนวนมาก ยิ่งทรงมีโอกาสคุ้นเคยกับหลักการและทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ก็ทรงมีพระราชศรัทธายิ่งขึ้น เพราะได้ประจักษ์แก่พระราชหฤทัยว่า ธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยเหตุผลและสัจจธรรม แม้ผู้ใดจะวิจารณ์ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ ก็จะไม่เสื่อมถอยในความนิยมเชื่อถือ ทั้งจักเป็นทางสนองพระเดชพระคุณพระราชบูรพการีตามคตินิยมอีกโสตหนึ่งด้วย จึงได้เสด็จออกทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ เสร็จการพระราชพิธีทรงผนวชแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ตลอดเวลา ๑๕ วันที่ทรงผนวชอยู่ และจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อย เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในปีเดียวกันนั้นเอง และในพุทธศักราช ๒๕๐๐ ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน