วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

Muséum de Vienne (Autriche)


Le Muséum de Vienne (Autriche) (ou Naturhistorisches Museum Wien) est l’un des plus grands musées autrichiens. Il a été ouvert en 1891 en même temps que le musée de peinture qui lui fait face. Les deux musées ont la même façade et se distribuent de part et d’autre de la place Marie Thérèse. Il a été construit pour abriter les très riches collections d’histoire naturelle des Habsbourg.


Histoire

Les premières collections sont rassemblées, en 1750, par François Ier du Saint-Empire par l’achat des collections d’histoire naturelle du florentin, le chevalier Johann von Baillou (1679-1758). Celui-ci en sera le premier conservateur. Cette collection, de 30 000 objets, contenait des minéraux, des roches, des fossiles, des coquillages, des pierres précieuses. Bientôt, les collections devinrent si riches que la résidence royale n’y suffit plus. Naquit, en 1857, le projet de bâtir deux grands musées, tant pour conserver les collections, que pour les mettre en valeur. Leur construction fut conviée aux architectes Gottfried Semper (1803-1879) et Karl Freiherr von Hasenauer (1833-1894) et débuta en 1871. Celle-ci s’acheva dix-huit ans plus tard et les musées furent inaugurés par François-Joseph Ier d'Autriche (1830-1916).

วันเสาร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หรือ วิศาขบูชา เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพุทธศาสนา ย่อมาจาก "วิสาขปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ" อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (มักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน)

ความสำคัญ
วันวิสาขบูชา เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ตรงกันทั้ง 3 คราว

เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี

เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย

หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย)

ในวันสำคัญนี้ ชาวพุทธทั่วโลกมักจัดพิธีทำบุญใหญ่ นอกจากถือศีลฟังธรรมแล้ว ยังปล่อยนกปล่อยปลา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำด้วย

องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลของโลก โดยการเสนอของประเทศศรีลังกา และมีมติเป็นเอกฉันท์ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 โดยให้เหตุผลว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน