วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550

MoM and AoM


วันแม่ปีนี้ก็ยังรักแม่เหมือนเดิมเลยนะ ถ้าเคยทำให้แม่ต้องเสียใจ อ๋อมอยากขอโทษนะ
"หนูขอสัญญาว่า
"หนูจะเป็นเด็กดี"

มารู้จักงานกีฬามหาวิทยาลัยโลกกันเถอะ


"universiade" เกิดจากการรวมกันของคำว่า "university" และคำว่า "olympiad" แปลความหมายได้ว่า มหกรรมกีฬาระดับนักศึกษา ที่มีความเทียบเท่าการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค ปัจจุบันมีการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน และฤดูหนาว ทุกๆ 2 ปี ซึ่งอยู่ในปี พ.ศ.2550 นี้ ในประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ ในการจัดการแข่งขันกีฬามหาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 8-18 สิงหาคม โดยมีการแข่งขันกีฬาหลักทั้งหมด 10 ชนิด ตามที่ fisu กำหนด และกีฬาเลือกอีก 5 ชนิด ที่ประเทศเจ้าภาพเป็นผู้เลือก โดยมีประเทศที่ร่วมแข่งขันกว่า 170 ประเทศ และนักกีฬากว่า 8,500 คน เข้าร่วมในการแข่งขัน






เส้นสายทั้ง 5 สี ร้อยเรียงในรูปตัว U เปรียบได้ดังเส้นสายแห่งการถ่ายทอดประสบการณ์ การแลกเปลี่ยนความรู้ และ วัฒนธรรม ระหว่างตัวแทนและนักกีฬาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใน 5 ทวีป ทั่วโลก ทั้งหมดรวมกันเป็นหนึ่งเดียว พุ่งม้วนเข้าสู่สัญลักษณ์ลวดลายสีเหลืองทอง อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย เปี่ยมล้นไปด้วยความปิติยินดี และ ความภาคภูมิใจที่ได้รับเกียรติให้ เป็นศูนย์กลางแห่งการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม จึงเป็นที่มาของคำว่า “ALL BECOME ONE”
เนื่องในปี พ.ศ.2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 80 พรรษา เพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเลือก “กระต่าย” อันเป็นนักษัตรปีพระราชสมภพ เป็นสัญลักษณ์นำโชคในการแข่งขันครั้งนี้
กระต่าย เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความว่องไว เฉลียวฉลาด อ่อนโยน พร้อมต้อนรับนักกีฬา ทุกชาติด้วยรอยยิ้มและมิตรภาพ ทั้งรูปร่างหน้าตา สีสัน และ กิริยาท่าทาง ล้วนแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน อันเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่สืบต่อกันมายาวนาน

"โยเกิร์ต" ทำมาจากอะไร



เพื่อนๆหลายคนคงรู้ดีว่า "โยเกิร์ต" เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครทราบว่า "โยเกิร์ต" ในต้นตำรับคืออาหารที่ทำมาจากน้ำนมแกะ

จากบันทึกหลายๆแห่งเขียนตรงกันว่าโยเกิร์ตเป็นอาหารที่รวมอยู่ในโภชนาการของชนเผ่าทราเซียน อันเป็นบรรพบุรุษเก่าแก่ที่สุดของชาวบัลแกเรีย โดยชาวทราเซียนนี้ทำมาหากินด้วยการประกอบอาชีพเลี้ยงแกะ

สำหรับคำว่า yoghurt น่าจะมาจากการผสมคำกันในภาษาทราเซียน ระหว่างคำว่า yog ที่แปลว่าหนาหรือข้น และ urt ที่แปลว่า น้ำนม เมื่อนำมารวมกันจึงเกิดคำว่า yoghurt ที่แปลอย่างตรงๆว่าน้ำนมข้นนั่นเอง

ทั้ งนี้ในยุคโบราณราวศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ก่อนคริสตกาล ชาวทราเซียนมีวิธีการเก็บรักษาน้ำนมไว้ในถุง ที่ทำจากหนังแกะ เวลาไปไหนต่อไหนก็เอาถุงนี้คาดเอวไว้ ความอบอุ่นจากร่างกายร่วมกับจุลชีพที่มีอยู่ในหนังแกะ ช่วยให้เกิดปฏิกิริยาการหมักขึ้น น้ำนมในถุงก็กลายสภาพเป็นโยเกิร์ตไป

ขณะที่นักวิทยาศาสตร์บางคนสันนิษฐานว่า สิ่งที่มีมาก่อนโยเกิร์ตน่าจะเป็นน้ำนมหมักที่ใช้ดื่ม เรียกว่า คูมิส (Kumis) น้ำนมชนิดนี้ทำมาจากน้ำนมม้า ที่อาจมีต้นกำเนิดมาจากชนเผ่าเรร่อนที่อพยพย้ายถิ่นฐานจากทวีปเอเชียมายังคาบสมุทรมัลข่าน ในปี ค.ศ.681

แม้ว่าโยเกิร์ตจะถือกำเนิดในบัลแกเรียมานาน แต่ในยุโรปตะวันตกปรากฏบันทึกเกี่ยวกับโยเกิร์ตของศาสตราจารย์คริสโต โชมาคอฟ รายงานไว้ในหนังสือ Bulgarian Yoghurt-Health and Longerity ที่ระบุว่าในศตวรรษที่ 16 เมื่อกษัตริย์ฟรานซิสที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ทรงประชวร มีพระอาการปั่นป่วนในท้อง แพทย์ชาวตุรกีผู้หนึ่งจึงทำการรักษาโดยให้เสวยโยเกิร์ตที่นำมาจากบัลแกเรีย

ปิดท้ายด้วยการให้ความรู้เพิ่มเติมกับผู้อ่านสักนิดว่าโยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว ก่อนจะมีการพัฒนารสชาติให้ถูกปากผู้บริโภคเรื่อยมา